สงครามแย่งชิงพื้นที่ One Click Checkout - Online Digital E-Wallet

Nopphorn Danchainam
Digio (Thailand)
Published in
3 min readOct 29, 2016

--

ปัญหาหนึ่งของโลกธุรกิจออนไลน์คือ ขั้นตอนการชำระเงิน ที่ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญ เพราะเป็นด่านสุดท้ายที่ลูกค้าทำการตัดสินใจชำระค่าสินค้าหรือบริการ ระบบที่ออกแบบให้ใช้งานได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย ย่อมเป็นปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจเติบโตมีผู้ใช้และฐานลูกค้ามากขึ้นเช่นกัน รวมถึงกระแสการมาของ M-Commerce ทำให้เราเลี่ยงไม่ได้เลยที่จะบอกว่าอนาคตการช็อปปิ้งจะเกิดบนมือถือมากกว่าบนเว็บเสียด้วยซ้ำ แต่ปัญหาใหญ่ของ Payment Gateway ปัจจุบันคือไม่ได้ออกแบบมาให้รองรับการจ่ายเงินบนมือถือนี่สิ ไหนจะต้อง redirect หน้าเว็บไปยังหน้าจ่ายเงินของธนาคาร SMS ไม่มา กรอก OTP ผิด ๆ ถูก ๆ ยิงข้อมูลกลับไปไม่ถึงเว็บต้นทางปัญหาบานตะไท มาลองดูขั้นตอนการ Checkout บนเว็บและมือถือข้างล่างประกอบบทความ

ขั้นตอนการชำระเงิน Basic Step of E/M-Commerce Checkout

Image src: Jesse Coleman from Pinterest
  1. Checkout เริ่มเข้าสู่กระบวนการชำระค่าบริการ
  2. Payment Type เลือกรูปแบบวิธีการชำระเงิน เช่น บัตรเครดิต หักบัญชีธนาคาร ชำระผ่าน counter หรืออื่น ๆ
  3. Payment Detail กรอกรายละเอียดการชำระเงิน หมายเลขบัตรเครดิต การยืนยันตัวตน(3D-Secure) หากชำระด้วยบัญชีธนาคาร ก็ต้องกรอก username/password บนหน้าเว็บธนาคาร หรือโอนเงินอาจจะใช้วิธีการกรอกหมายเลข reference code ในการโอน
  4. Shipping Information กรอกรายละเอียดที่อยู่ ข้อมูลสถานที่ วิธีการจัดส่งสินค้า
  5. Billing Information กรอกรายละเอียดที่อยู่เกี่ยวกับการออกใบเสร็จ กรณีที่ต้องการใบเสร็จเต็มรูปแบบ

จะเห็นว่า กว่าลูกค้าจะทำรายการชำระเงินเสร็จจะต้องผ่านขั้นตอนการกรอกข้อมูลมากมาย บางครั้งจะต้องเชื่อมไปยังระบบอื่น ๆ เช่นระบบจ่ายเงิน หน้าเพจธนาคาร ฯลฯ ซึ่งอาจะใช้เวลาในการ Checkout นานถึง 10–20 นาทีในบางครั้ง และมีโอกาสเป็นไปได้สูงมากที่การจ่ายเงินอาจจะไม่สำเร็จ เช่น อินเทอร์เนตไม่เสถียร การเชื่อมต่อไม่สมบูรณ์ ระบบล่ม การกรอกข้อมูลผิดพลาด ฯลฯ ทั้งหลายทำให้เจ้าของธุรกิจอาจสูญเสียโอกาสในการปิดการขายได้ทั้งสิ้น

ทีนี้คนที่ลุกขึ้นมาแก้ปัญหานี้ก่อนใครในวงการ E-commerce ก็คือAmazon.com ที่สร้างบริการชื่อว่า Amazon 1-Click Checkout ในปี 2000 เรียกว่าตั้งมาตรฐานการซื้อสินค้าออนไลน์ที่แทบจะทุกคนต้องทำตามในเวลาต่อมา แต่ข้อจำกัดคือบริการ 1-Click Checkout นี้สามารถใช้ได้เฉพาะการซื้อสินค้าบนเว็บไซต์ Amazon.com เท่านั้น

เลยเป็นที่มาว่า กลุ่มผู้ให้บริการระบบชำระเงินรายใหญ่ในโลกจึงลุกขึ้นมาแก้ปัญหาเหล่านี้ในแบบ large scale มากขึ้น บทความนี้จึงขอยกตัวอย่างแบรนด์ที่เราคุ้นเคยกันดี 3 เจ้าใหญ่วงการ Payment

Global Brand E-Wallet Checkout Services
  1. MasterPass Checkout เป็นผู้เล่นรายแรก ๆ ในตลาด เปิดตัวในปี 2013 โดยตั้งใจเป็นกระเป๋าเงิน Digital Wallet ให้กับเหล่านักช็อปออนไลน์ทั่วโลก รองรับบัตรเครดิต บัตรเดบิต บัตรสะสมแต้ม และบัตรสมาชิก รวมถึงสามารถใช้งานได้ทั้งช่องทางที่เป็น ออนไลน์(Web + Mobile) ออฟไลน์(POS และ In-Store) เป็นเจ้าที่มี features และลูกเล่นค่อนข้างครบถ้วนหลากหลายมาก เป็น Omni-Channel Checkout Experience จริง ๆ
  2. Paypal One Touch จุดแข็งที่แบรนด์และความน่าเชื่อ จึงได้รับความไว้ใจจากเหล่าผู้ใช้ออนไลน์ ฉะนั้นเวลาที่ Paypal ลุกขึ้นมาขยับทำอะไรซักอย่าง จึงน่าจับตามอง และด้วยพลังของแบรนด์ ความง่ายในการใช้ SDK ทำให้การขยายช่องทางชำระเงิน Paypal เป็นไปได้โดยง่ายและได้รับการยอมรับจากร้านค้าออนไลน์ทั่วโลก
  3. VISA Checkout เป็นพี่ใหญ่ที่อาจจะขยับช้ากว่าเจ้าอื่น แต่ก็มาแบบเงียบ ๆ และมั่นคง ถึงแม้ลูกเล่นและ features จะยังไม่มากเท่ากับอีกสองเจ้าข้างบน

ประโยชน์ข้อดีของ E-Wallet Checkout Services

  1. สำหรับลูกค้า ช่วยลดกระบวนการและขั้นตอนการ Checkout ทั้งบน E-Commerce และ Mobile Commerce ให้สะดวกรวดเร็วขึ้น ในบางเจ้าอย่าง MasterPass รองรับการใช้กับร้านค้าจริง (Offline) ด้วย แทนที่จะต้องกรอกข้อมูลบัตรเครดิต วิธีการชำระเงิน ข้อมูลการจัดส่ง การออกบิล ทั้งหมด ลองจินตนาการว่าหากเราต้องซื้อของออนไลน์ซัก 2–3 เว็บไซต์แล้วต้องกรอกข้อมูลเหล่านี้ทุกครั้งคงปวดหัวไม่ใช่น้อย และอาจจะเสียเวลาเป็นชั่วโมงเลยก็ได้ รวมถึงไม่ต้องจำรหัสผ่านบ่อย ๆ ในการสั่งซื้อสินค้าหลาย ๆ ที่ด้วย
  2. สำหรับร้านค้า ช่วยสร้างประสบการณ์ในการจ่ายชำระเงินแก่ลูกค้าให้ดียิ่งขึ้น แทนที่จะต้องขอให้ลูกค้ากรอกข้อมูลจำนวนมาก สามารถย่นระยะเวลาจาก 10–15 นาทีในการจ่ายเงินให้เหลือเพียงคลิ๊กเดียวจบได้ ซึ่งโอกาสที่ลูกค้าจะเปลี่ยนใจย่อมลดลง และยังลดความเสี่ยงที่จะเสียลูกค้าจากปัญหาอื่น ๆ อีกมากมาย มี SDK รองรับการใช้งานผ่านมือถือได้ดีกว่า Payment Gateway แบบเดิม ๆ ทั้ง Mobile Web และ Native App และที่สำคัญคือช่วยลด PCI compliance scope ให้แก่ร้านค้าด้วย
ประโยชน์ E-Wallet Checkout Services, img src: https://usa.visa.com/

ผู้ที่เกี่ยวข้องในการ Setup E-Wallet Checkout Services

เจ้าของธุรกิจทั้งเว็บและมือถือจะต้องเป็นผู้ที่ต้องรับผิดชอบการเชื่อมต่อระบบจ่ายเงินเข้ากับ E-Wallet Checkout Services แต่ข้อดีคือขั้นตอนการขออนุมัติรายการจะยังส่งผ่าน Payment Gateway ธนาคารเดิมที่ใช้อยู่ได้ ยกเว้นในบางกรณี Payment Gateway ของธนาคารอาจจะต้องมีการแก้ไขเพื่อให้รองรับคุณสมบัติหรือ Features บางอย่างที่ E-Wallet Checkout มีให้บริการเช่น Card Tokenization

ทำไม Global Brand อย่าง MasterCard/PayPal/VISA ถึงต้องลุกขึ้นมาทำ E-Wallet Checkout Services

นอกจากเรื่องความสะดวก รวดเร็วและความปลอดภัยแล้ว ผู้เขียนมองว่าเหตุผลสำคัญอีกประการหนึ่งคือต้องการที่จะสร้าง Brand ของตนเองให้ผู้ใช้บัตรได้รับรู้ และสามารถที่จะ tie-in บริการอื่น ๆ ที่ตัวเองมีให้แนบสนิทใกล้ชิดกับลูกค้ามากขึ้น เพราะปัจจุบัน Card Schemes ไม่ได้ถูกหยิบยกมาเป็นปัจจัยหลักในการตัดสินใจซื้อสินค้า หากไม่มี promotion ล่อใจหรือถูกพลักดันจากธนาคารผู้ออกบัตร ไหนจะการแข่งขันที่สูงจากคู่แข่งทางตรงและทางอ้อมอย่างผู้ให้บริการ E-Wallet/Direct Debit ในแต่ละประเทศ และอำนาจควบคุมปัจจัยเหล่านี้อยู่ที่เจ้าของร้านค้าและธนาคารเป็นหลัก ฉะนั้นการที่มีส่วนเชื่อมต่อ Interface ที่ผูกมัดกับลูกค้าไว้ทำให้โอกาสที่อนาตลูกค้าจะกลับมาเลือกบัตรที่ผูกไว้จะมีสูงมากขึ้น

What will happen next?

ท้ายที่สุดแล้วบริการ E-Wallet Checkout Services จะสร้างประโยชน์ทั้งความสะดวก ความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้และเจ้าของร้านค้าได้อย่างแน่นอน แต่เราในฐานะคนใช้อาจจะเจอหน้าจอตอนเลือกชำระเงินแบบรูปด้านล่างนี้ในอนาคตก็ไม่แปลก **_**

E-Commerce Checkout img src: http://e-commerce101.org/category/online-transaction/

ข้อมูลอ้างอิง References

--

--